top of page

หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ตามประวัติกล่าว
เอาไว้ว่า บรรพบุรุษได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นชาวเวียงจันทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ราชบุรี แต่บางกระแสก็กล่าวว่าบรรพบุรุษของท่านมีเชื้อสายเป็นชาวมอญ ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พศ.๒๓๖๖ ใน
รัชสมัยรัชกาลที่๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดโพธารามนั่นเอง เพื่อศึกษาเล่าเรียนอักษรขอม และอบรมบ่มนิสัยตามประเพณีไทยแต่โบราณ เมื่ออายุได้ ๑๕ปี ตรงกับปี พศ.๒๓๘๑ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธารามนั่นเอง โดยมีหลวงพ่อทาน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น จนกระทั่งมีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทเมื่อปี พศ.๒๓๘๖ ที่วัดบ้านฆ้อง (วัดฆ้อง)อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี วัดบ้านฆ้อง(วัดฆ้อง)ในอดีตเคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและกัมมัฏฐานที่มีชื่อเสียงมาก สมัยนั้นหากใครได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน ณ สำนักแห่งนี้แล้วถือว่า
ไม่ธรรมดาแม้ลาสิกขาบทออกไป ก็จะได้รับการยกย่องเชิดชู เป็นหน้าตาแก่วงค์ตระกูล ที่มีชื่อเสียงและได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลโดยทั่วไป สำหรับหลวงพ่อทานั้น ภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้วท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาขอม จน
เป็นที่แตกฉาน เมื่อเห็นสมควรแล้ว จึงได้หันมาศึกษาและฝึกปฏิบัติพระวิปัสนากัมมัฏฐาน อีกทั้งยังศึกษาทางด้านพุทธาอาคมต่างๆ อีกมากมายจนชำนาญและเชี่ยวชาญ จึงกราบลาพระอาจารย์ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ นอกสถานที่สงบวิเวกในการปฏิบัติธรรม ฝึกจิตให้เป็นสมาธิเพื่อให้พ้นบ่วงแห่งอาสวะกิเลสทั้งปวง สถานที่ต่างๆที่ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านไปนั้นมีหลายที่ เช่น ไปเมื่องสระบุรี เพื่อกราบนมัสการ รอยพระพุทธบาท ไปเมืองพิษณุโลก เพื่อกราบนมัสการพระพุทธชินราช หลังจากนั้นก็รอนแรมในแถบภาคอีสาน ข้ามไปยังฝั่งเขมร เมื่อกลับเข้ามาแล้วจึงวกไปภาคตะวันออก สู่จังหวัดกาญจนบุรีผ่านไปยังพม่า แวะกราบนมัสการพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
กาลเวลาได้ล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ที่หลวงพ่อทา ได้ธุดงค์จาริกแสวงบุญไปตามสถานที่ต่างๆใช้ชีวิตอยู่ในป่าดงพงไพร ฝึกฝนสมาธิทางจิตและขัดเกลากิเลสตัณหา ด้วยการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอย่างจริงจัง ในระหว่างนั้นเมื่อท่านได้มีโอกาสพบปะกับพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคม ก็จะขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาสรรพวิชาต่างๆอยู่เสมอไม่เคยขาด ทำให้ท่านมีความรู้ความชำนาญในศาสตร์หลายแขนง ที่ยากจะหาใครมาเสมอเหมือนโดยง่าย จนกระทั่งเมื่่อปลายปี พศ.๒๔๑๗ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๕๑ ปี หลวงพ่อทาได้ธุดงค์ผ่านมาทางตำบลพะเนียงแตก ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลมาบแค ซึ่งในตำบลนี้มีวัดเล็กๆซึ่งหลวงปู่สุขเป็นผู้สร้าง ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นป่ารกชัฏนอกเมือง เมื่อท่านเห็นว่าเป็นสถานที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรมท่านจึงได้ตัดสินใจปักกลดพักแรม และได้ทราบด้วยญาณว่า ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดมาก่อน จึงได้จำวัดอยู่ ณ บริเวณวัดนี้ ซึ่งพอดีที่วัดพะเนียงแตก ไม่มีเจ้าอาวาส เนื่องจากหลวงปู่สุขได้มรณภาพมานานแล้ว จึงทำให้วัดแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างกลายสภาพเป็นป่่ารกชัฏดังกล่าวประชาชนเห็นว่าหลวงพ่อทาได้ธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่วัดนี้และมีความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้นิมนต์ให้หลวงพ่อทาอยู่ประจำวัดและให้เป็นเจ้าอาวาสของวัดพะเนียงแตกแทนหลวงปู่สุขเมื่อประมาณ พศ.๒๔๓๐
หลวงพ่อทาได้ปกครองวัดพะเนียงแตกมาเป็นเวลานานพอสมควร ทานจึงเริ่มลงมือสร้างเป็นวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง พร้อมทั้งสร้างเสนาสนะต่างๆขึ้นมามากมายรวมทั้งอุโบสถ ในช่วงระหว่างการสร้างวัดแห่งนี้ท่านยังได้สร้างวัดอื่นๆขึ้นมาอีกในคราวเดียวกัน เช่น วัดบางหลวง วัดดอนเตาอิฐ วัดสองห้อง เป็นต้น
หลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก ในช่วงนั้นท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นอย่างมาก ได้รับการยอมรับนับถือเป็นพระนักปฏิบัติเชี่ยวชาญในด้านสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานยิ่งยวด มีพลังจิตแก่กล้าและมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมากทั้งบรรพชิตและฆราวาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕(พศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) ทรงทราบถึง
เกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าอยู่เสมอๆ ด้วยพระองค์ท่านทรงโปรดปราน
พระเถระผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก และหลวงพ่อทาก็เป็นพระเถราจารย์องค์หนึ่งที่พระองค์ท่านทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก ดังนั้น พระราชพิธีหลวงต่างๆ ท่านจะรับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เสมอๆ เช่นพิธีหลวงการพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยา
ปวเรศวริศยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย และได้รับถวายพัดเนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นเมื่อปี พศ.๒๔๓๕(ร.ศ.๑๑๑)โดยพยานหลักฐานยืนยันก็คือ ภาพถ่ายของท่าน และมีระบุในภาพถ่ายดังกล่าว ว่าถ่าย ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๑ พัดที่ตั้งอยู่ด้านขวามือของท่านคือ พัดยศ ส่วนพัดทางด้านซ้ายมือ คือ พัดที่ได้รับถวายเนื่องในพิธีหลวงพระศพ ข้อความที่ระบุในพัดคือ การพระศพสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ ขณะหลวงพ่อทา อายุได้ ๘๕ ปี
กล่าวได้ว่า ตลอดชีวิตของพลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านได้ดำรงชีวิตในสมณะเพศอย่างคุ้มค่า มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านได้บรรพชา-อุปสมบท ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพากเพียรปฏิบัติให้เกิดผลทุกด้าน นำสิ่งที่ได้ศึกษาและปฏิบัติ มาอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ยึดถือแนวทางอย่างถูกต้องตามพระธรรมคำสั่่งสอนของพระบรมศาสดาอย่างเต็มกำลังความสามารถตราบถึงกระทั่งท่านมีอายุมากแล้ว ก็ยังปฏิบัติศาสนกิจอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ปี พ.ศ.๒๔๖๒ (ร.ศ.๑๓๘)ตรงกับปีมะแม หลวงพ่อทาได้ชราภาพมาก จึงถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ รวมสิริอายุได้ ๙๖ปี พรรษาที่ ๗๖ สิ่งที่หลงเหลือเป็นอนุสรณ์ให้ร่ำลือนึกถึงท่านก็คือเกียรติคุณ คุณงามความดี และบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่านที่จะทำให้เราจดจำไว้อย่างไม่มีวันลืม สมดั่งเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ผู้เข้มขลังแห่งจังหวัดนครปฐม ตราบชั่วกาลนาน
ลูกศิษย์หลวงพ่อ เท่าที่สืบทราบจากการค้นคว้าประวัติและความเป็นมาทำให้ทราบว่า มีลูกศิษที่ เป็นบรรพชิตสืบสานวิชาอาคมของหลวงพ่อทา ดังต่อไปนี้ ๑. หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๒. หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่มผักกูด อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ๓. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ๔. หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ๕. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม



20180228_141724

1/25





อภินิหาร พ.ศ.๒๔๕๒
หนึ่งในสิบสุดยอดพระคณาจารย์ผู้ที่มีพลังจิตสูง ในปี ๒๔๕๒ ที่จังหวัดนครปฐมได้มีการชุมนุม
พระเกจิอาจารย์จากสำนักต่างๆทั่วประเทศไทย โดยได้มีการทดสอบวิทยาคมและพลังจิตจาก
พระอาจารย์ทั่วประเทศที่ได้รับนิมนต์มาร่วมในพิธีร้อยกว่าองค์ ซึ่งแต่ละจังหวัดได้จัดให้พระอาจารย์เดินทางไปร่วมพิธีโดยมีการทดสอบพระอาจารย์ต่างๆครั้งละสิบองค์ มีสมเด็จพระสังฆราช(เข)วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ที่ลานบริเวณหน้าองค์พระปฐมเจดีย์วัดพระปฐมเจดีย์ ในการทดสอบพลังจิตรครั้งนั้นมีกติกาว่าให้เอาท่อนไม้มา๑ท่อน วางบนม้านั่ง๒ตัว แล้วให้เอากบไสไม้วางไว้บนท่อนไม้ แล้วประธานฝ่ายสงฆ์จึงบอกกติกาว่าพระอาจารย์องค์ใดสามารถทำให้กบไสไม้วิ่งไสไม้ไปกลับได้ โดยกบไม่หล่น ทำการทดสอบกันถึงสามวันสามคืน พระอาจารย์ส่วนมากสามารถใช้จิตบังคับให้กบ
วิ่งไปได้ แต่กลับไม่ได้ ที่ทำให้กบไสไม้กลับได้ มีด้วยกัน ๑๐รูป คือ
๑.หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก(วัดปทุมคงคา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ๒หลวงพ่อบุญ วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ๓.หลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ๔.หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครอยุธยา ๕.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๖.หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ๗.หลวงพ่อทอง วัดเขากบทวาศรี อำเภอเมือง นครสวรรค์ ๘.หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน(บางเหี้ย) อำเภอคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ๙.หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ๑๐.หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ อำเภอตะโก จังหวัดชุมพร

TRAVEL




ผู้ที่มากราบขอพร หรือแม่ค้าในระแวกใกล้เคียงจะมาบนขอให้ขายของดี ด้วยปลาร้า
ในทุกปี ลูกศิษย์หลวงพ่อทา จะติดต่อขอเป็นเจ้าภาพล่วงหน้า มีทั้ง หมอลำเพลิน ลิเก ภาพยนตร์ รำวง หรือบางท่านที่ได้มาบนบานไว้ และสำเร ็จดั่งที่บนจะมาแก้บนในงานประจำปี
![]() 20180228_141955 | ![]() 20180228_142007 | ![]() 20180228_142017 | ![]() 20180228_141620 |
---|---|---|---|
![]() 20180228_141607 | ![]() 20180228_141613 | ![]() | ![]() |
![]() 20180228_142204 |






228_143507






























1/2
bottom of page